เมนู

สิเนรุราชนั้น ตามลำดับ* เป็นที่สิ่งสถิตของ
มหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพ
และพวกยักษ์.

ยังมี

ภูเขาชื่อหิมพานต์สูง 500 โยชน์


ยาวและกว้าง 3,000 โยชน์ งดงามด้วยยอด
84,000 ยอด ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า)
นั้นวัดรอบลำต้นได้ 15 โยชน์ มีกิ่งลำต้น
ยาว 50 โยชน์รอบด้าน ว่างได้ร้อยโยชน์
สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.

อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของ
พวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)
ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤษ์ ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีป
ปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือน
กัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ต้นปาฏลี (แคฝอย) 1 ต้นสิมพลี
(ไม้งิ้ว) 1 ต้นชมพู (ไม้หว้า) 1 ต้นปาริฉัตตกะ
(ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ 1 ต้นกทัมพะ
(ไม้กระทุ่ม) 1 ต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้นสิรีสะ
(ไม้ซึก) เป็นที่ 7
* โยชนา เอเต สตต ปพพตา อนุปฏิปาฏิยา สมุคคตา โสปานสทิสา หุตฺวา ฐิตา ภูเขา
7 เทือกเหล่านี้สูงขึ้นโดยลำดับเป็นเหมือนกับบันไดตั้งอยู่.

ภูเขาจักรวาลหยั่งลึกลงในมหาสมุทร
82,000 โยชน์ สูงพ้นมหาสมุทร 82,000
โยชน์เหมือนกัน ทั้งหมดได้ตั้งแวดล้อมโลกธาตุ
ไว้แล.
(นี้ชื่อว่าสันดานของรูปที่ไม่มีใจครอง).
แม้ในสันดานของรูปที่มีใจครอง (อุปาทินนกสันดาน) ก็ปรากฏ
เป็นของใหญ่นั่นแหละด้วยอำนาจแห่งสรีระมีปลา เต่า เทพ และทานพเป็นต้น
ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
มหาสมุทร สัตว์ใหญ่ แม้ยาวตั้งร้อยโยชน์ก็มีเป็นต้น.

ว่าด้วยมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น


ข้อว่า มหาภูตคือนักเล่นกลเป็นต้น มีอธิบายว่า มหาภูตรูปเหล่านี้
เปรียบด้วยนักเล่นกล ย่อมทำน้ำอันมิใช่แก้วมณีเลยให้เป็นแก้วมณี ย่อมแสดง
ก้อนดินอันมิใช่ทองคำเลยให้เป็นทองคำได้ ฉันใด อนึ่ง ตัวเอง (มหาภูตรูป)
มิใช่เป็นยักษ์ มิใช่เป็นปักษี (นก) ย่อมแสดงความเป็นยักษ์บ้าง เป็นปักษีบ้าง
ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือตัวเอง (มหาภูตรูป) มิใช่เป็นสีเขียว
ก็แสดงอุปาทารูป (รูปอาศัย) ให้เป็นสีเขียว ตัวเองมิใช่เป็นสีเหลืองก็แสดง
อุปาทารูปให้เป็นสีเหลือง มิใช่เป็นสีแดง. . . มิใช่สีขาวก็แสดงอุปาทารูปให้
เป็นสีขาวได้ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็น
เหมือนมหาภูต คือนักเล่นกล.
อนึ่ง มหาภูตคือยักษ์ผู้ชายเป็นต้นย่อมสิงวัตถุใด หรือสัตว์ใด ที่อัน
เป็นภายใน หรือภายนอกของวัตถุนั้น หรือของสัตว์นั้น ก็หามัน (คือมหาภูต
ตัวยักษ์ผู้ชายเป็นต้นนั้น) ไม่ได้ และมิใช่มันจะไม่แอบอิงวัตถุนั้นหรือสัตว์นั้น
อยู่ก็หาไม่ ข้อนี้ ฉันใด มหาภูตรูปแม้เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะค้นหา
1. อํ. อฏฺฐกนิปาต เล่ม 23. 109/202